สุนัขไทยหลังอาน
ข้อมูลทั่วไป
แหล่งกำเนิด: ประเทศไทย
ประเภท: ล่าสัตว์และเลี้ยงเป็นเพื่อนวันประกาศมาตรฐานพันธุ์ต้นฉบับ: 26 พฤษภาคม 2546
FCI-Standard No: 338/25.02.2004/GB
การจัดกลุ่มของ FCI: กลุ่ม 5 สปิทซ์และพันธุ์พื้นเมือง ส่วน 7 สุนัขล่าสัตว์พื้นเมือง ยกเว้นการทดสอบใช้งานพฤติกรรม/อารมณ์: แข็งแรง ว่องไว มีความสามารถในการกระโดดเป็นเยี่ยม เป็นสุนัขในครอบครัวที่ซื่อสัตย์
ประวัติโดยย่อ
สุนัขไทยหลังอานเป็นสุนัขพันธุ์พื้นเมืองที่เก่าแก่ ดังจะเห็นบันทึกอยู่ในเอกสาร โบราญที่มีอายุประมาณ 350 ปีที่พบในประเทศไทย ทางภาคตะวันออกของประเทศไทยใช้สุนัขพันธุ์นี้ในการล่าสัตว์ ชาวพื้นเมืองยังใช้ติดตามเกวียนเพื่อคอยระวังภัยอีกด้วย เหตุผลที่สุนัขพันธุ์นี้คงลักษณะดั้งเดิมอยู่ได้นานหลายปีก็เนื่องจากระบบการคมนาคมทางภาคตะวันออกของประเทศไทยไม่ดีพอ การผสมข้ามพันธุ์จึงเป็นไปได้น้อย
มาตรฐานสายพันธุ์
ลักษณะทั่วไป: ขนาดปานกลาง มีขนสั้นเป็นรูปอานทอดไปตามหลัง ลำตัวยาวกว่าความสูงที่ไหล่เล็กน้อย กล้ามเนื้อชัดเจน ลักษณะทางกายภาพเหมาะสมกับการล่าสัตว์
สัดส่วนที่สำคัญ:
ความยาวของลำตัว : ความสูงที่ไหล่ = 11 : 10
ความลึกของหน้าอก : ความสูงที่ไหล่ = 1 : 2หัว-ส่วนหัว:
กะโหลก: กะโหลกแบนระหว่างใบหู แต่เมื่อมองด้านข้างจะมีลักษณะกลมเล็กน้อย
หน้าผาก: มีรอยย่นเมื่อสุนัขตื่นตัว
ดั้งหัก(Stop): ชัดเจนแต่หักมุมปานกลางส่วนใบหน้า:
จมูก: ดำ ในสุนัขสีสวาดจะมีสีกลมกลืนกับสีขน
สันจมูก: ตรงและยาว
กรวยปาก: รูปลิ่ม สั้นกว่าความยาวกะโหลกเล็กน้อย
ริมฝีปาก: แนบสนิทและมีสีเข้ม
ปาก: มีปานดำบนลิ้นเป็นที่พึงประสงค์
ขากรรไกร: ขากรรไกรบนและล่างแข็งแรง
ฟัน: ขาวแข็งแรง สบแบบกรรไกร
ตา: ขนาดกลางรูปผลอัลมอนด์(คล้ายผลสมอ) สีน้ำตาลเข้ม สุนัขสีสวาดอนุโลมให้มีตาสีอำพัน
หู: ติดอยู่ด้านข้างกะโหลก ขนาดกลาง รูปสามเหลี่ยมตั้งมั่นและโน้มไปข้างหน้า ไม่มีการตัดหู
คอ: ยาวปานกลางแข็งแรงกล้ามเนื้อสมบูรณ์ โค้งเล็กน้อยและเชิดหัวขึ้นสูงลำตัว:
หลัง: แข็งแรงและเป็นแนวระนาบ
เอว: แข็งแรงและกว้าง
บั้นท้าย: ลาดลงปานกลาง
อก: ลึกถึงระดับข้อศอก ซี่โครงขยายได้ดีแต่ไม่กลมเป็นถังน้ำ
เส้นล่าง: ท้องเว้าขึ้นชัดเจนหาง: โคนหางใหญ่และค่อย ๆ เรียวเล็กลงไปทางปลายหาง ปลายหางควรยาวจรดส้นเท้า ตั้งขึ้น และโค้งเล็กน้อย
ผิวหนัง: นุ่ม ละเอียดและตึง
คอ: ไม่มีเหนียงคอ
ขาช่วงหน้า:
ไหล่: แนบลำตัวและทอดไปข้างหลัง
ขาหน้า: ตรง
ข้อขาหน้า: ตรงเมื่อมองจากด้านหน้า ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็นว่าทำมุมเอียงเล็กน้อย
เท้า: รูปไข่
เล็บ: ดำแต่อาจมีสีจางลงตามสีขน
มาตรฐานสายพันธุ์ (ต่อ)
ขาช่วงหลัง:
สะโพก: สมบูรณ์ มุมเข่า(Stifle) โค้งได้รูป
ส้นเท้า: แข็งแรง และทอดลงได้มุมเหมาะสม
ข้อขาหลัง: ตรงและขนานกันเมื่อมองจากด้านหลัง
เท้า: รูปไข่การก้าวย่าง:
ก้าวได้ระยะ โดยลำตัวไม่แกว่งหรือโยนไปมา การเคลื่อนไหวในความเร็วปกติจะมีลักษณะการก้าวเท้าเสมอกัน เมื่อมองจากด้านหน้าจะเห็นเท้าหน้าเคลื่อนไหวขึ้นลงเป็นเส้นตรงจนดูเหมือนว่าไหล่ ข้อศอกและข้อเท้าเกือบเป็นเส้นเดียวกัน เมื่อมองจากส่วนท้ายจะเห็นมุมเข่า และข้อสะโพกเกือบอยู่ในแนวเส้นเดียวกัน การเคลื่อนไหวเป็นเส้นตรงไปข้างหน้าจะไม่มีการแกว่งเท้าหรือออกนอกแนวเส้นตรง ดังนั้นจึงทำให้การก้าวได้ระยะและมีกำลังขับเคลื่อน ลักษณะการเคลื่อนไหวในภาพรวมของสุนัขเป็นแบบเรียบสม่ำเสมอและมีจังหวะที่สมดุลขนและสี:
ขน: สั้นและเรียบ อานบนหลังเกิดจากการขึ้นย้อนกลับของขน ควรมีลักษณะที่มีขอบเขตชัดเจนแยกจากส่วนอื่นของหลังได้ มีหลายรูปแบบและความยาว แต่ต้องมีลักษณะสมดุลทั้งสองข้างของแนวกระดูกสันหลังและอยู่ภายในความกว้างของสันหลัง ยอมรับได้ถ้ามีขวัญหรือก้นหอยอยู่ที่หัวอานสี: สีเดียว แดง ดำ สวาด และสีเหลืองอ่อนอมน้ำตาลอ่อน (Isabella) สุนัขสีแดงมีปากมอมจะเป็นที่พึงประสงค์
ขนาด: ความสูงที่เหมาะสม โดยวัดที่ไหล่
เพศผู้ 22 – 24 นิ้ว ( 56 – 61 ซม.)
เพศเมีย 20 – 22 นิ้ว (51 – 56 ซม.)
อนุโลมให้ขาด – เกินได้ หนึ่งนิ้ว (2.5 ซม.)ข้อบกพร่อง
สิ่งที่ผิดไปจากมาตรฐานสายพันธุ์ที่กล่าวมาถือเป็นข้อบกพร่อง
ระดับความร้ายแรงขึ้นอยู่กับสัดส่วนของความบกพร่องที่ปรากฏ
– การสบของฟันที่ผิดไปจากการสบกันแบบกรรไกร
– อานที่ไม่สมดุลข้อบกพร่องที่ต้องคัดออก:
– สุนัขไม่มีอาน
– ขนยาว
– สุนัขที่แสดงความผิดปกติอย่างชัดเจนทางร่างกายหรือพฤติกรรมถือว่าขาดคุณสมบัติหมายเหตุ: สุนัขเพศผู้จะมีอัณฑะขนาดปกติ 2 ลูก ลงอยู่ในถุงอัณฑะเรียบร้อย